วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี
http://www.rid.go.th/royalproject/index.php?option=com_content&view=article&catid=87%3A2009-05-04-07-35-57&id=182%3A2009-05-28-08-41-13&Itemid=7

โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
บ้านเขาชะงุ้ม หมู่ที่ 2 ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
พิกัด 47 PNR 762-170 ระวางแผนที่ 4936 III
หน่วยงานรับผิดชอบ โครงการชลประทานจังหวัดราชบุรี สำนักชลประทานที่ 13 กรมชลประทาน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นายไพรัตน์ ทับประเสริฐ ตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดราชบุรี
สำนักชลประทานที่ 13
2. นายอัศวิน สมุทรจักร ตำแหน่ง ฝวศ.คป.ราชบุรี โครงการชลประทานจังหวัดราชบุรี
สำนักชลประทานที่ 13

วัตถุประสงค์โครงการ
1. เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตทดสอบวิธีการฟื้นฟูปรับปรุงดินเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรูปแบบและส่งเสริมอาชีพเกษตรกรที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่โครงการ ได้เรียนรู้วิธีการจัดการดิน น้ำ และพืช อย่างถูกต้อง มีความยั่งยืนไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2. เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำในเขตพื้นที่โครงการให้เพียงพอกับการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร
3. เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำรอบพื้นที่โครงการฯ ให้เพียงพอกับการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรสำหรับกิจกรรมการขยายผลของโครงการฯ
4. เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน
5. เป็นแหล่งศึกษาดูงาน

สภาพทั่วไป
1. สภาพพื้นที่ของโครงการฯ เป็นที่ราบเชิงเขา มีความลาดชัน 1-10% มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด
2. เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายและปนกรวด ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3. มีการชะล้างพังทลายของดินจนสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์
4. พื้นที่บางแห่งมีการขุดลูกรังไปขาย ทำให้พื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำการเกษตรอีกต่อไป
5. ความแห้งแล้งแสดงเป็นค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนในช่วง 14 ปี (ปี2531 – 2544) 700 มม./ปี ค่าเฉลี่ย จำนวนวันที่ฝนตก 50 วัน/ปี

ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ปีพ.ศ.2552

ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. เพื่อเก็บกักน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่การเกษตรมีปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการของราษฎร
2. สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
3. การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ดินและน้ำได้รับการอนุรักษ์เพิ่มขึ้น
5. ไฟป่าลดลง
6. เป็นที่ศึกษาดูงานและค้นคว้าวิจัยการพัฒนาที่ดิน พื้นที่รับประโยชน์ในช่วงฤดูฝน 1,849 ไร่ ฤดูแล้ง 1,849 ไร่ จำนวนครัวเรือน 249 ครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น